วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 10 รูปแบบคำสั่ง HTML +ตัวอย่างคำสั่ง

<HTML>

สำหรับ <HTML> นั้นเป็นคำสั่งหรือแท็กแรกในภาษา HTML ซึ่งเป็นคำสั่งที่แสดงให้รู้ว่า ไฟล์นี้เป็นไฟล์ HTML ซึ่งจะใช้ <HTML> ที่บรรทัดบนสุดและ </HTML> เป็นการปิดคำสั่ง HTML ซึ่งจะไว้ที่บรรทัดสุดท้าย เพื่อแสดงว่าจบไฟล์



<HEAD>
สำหรับแท็ก <HEAD> เป็นส่วนหัวของไฟล์ที่ใช้ใส่แท็กต่างๆ เช่น <TITLE>, <META>, <!DOCTYPE> เป็นต้น ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ถูกเรียกมาก่อนส่วนอื่นๆ และจะไม่แสดงผลออกทาง Browser


<BODY>

สำหรับแท็กนี้เป็นส่วนที่เริ่มต้นส่วนที่เป็นคำสั่งต่างๆ ที่จะแสดงยัง Browser ซึ่งข้อมูลทุกอย่างของเราที่จะนำมาแสดงต้องใส่ไว้ภายใต้คำสั่งนี้เท่านั้น แท็กนี้มีคำสั่งย่อยที่สำคัญ ดังนี้

1. BACKGROUND คือการกำหนดให้ Browser แสดงพื้นหลังด้วยรูปภาพ เช่น <BODY BACKGROUND= “bg.gif”> เป็นต้น

2. BGCOLOR คือการกำหนดให้ Browser แสดงพื้นหลังสีที่กำหนด เช่น <BODY BGCOLOR= “green” > เป็นต้น

3. TEXT คือการกำหนดให้ Browser แสดงอักษรเป็นสีที่กำหนด เช่น <BODY TEXT= “rad”> เป็นต้น



<META>
สำหรับแท็กนี้เป็นแท็กที่มีประโยชน์มากเลยทีเดียวในสมัยนี้ ไม่ว่าจะไว้สำหรับกำหนดภาษาที่จะแสดงผล ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาเว็บ ของ Search Engine ต่างๆ ใส่ข้อความ คำอธิบายต่างๆ

1. NAME= “GENERATOR” ใช้บอกชื่อของผู้เขียนหรือชื่อโปรแกรมที่ใช้เขียน เช่น <META NAME=“GENERATOR” CONTENT= “ชื่อผู้เขียนหรือชื่อโปรแกรม”>

2. NAME= “DESCRIPTION” ใช้ใส่คำอธิบายของโฮมเพจเรา ซึ่งเป็นแท็กหนึ่งที่ Search Engine ใช้ในการค้นหาเว็บเรา เช่น

<META NAME= “DESCRIPTION” CONTENT= “ใส่คำอธิบาย”>

3. NAME= “KEYWORDS” ใช้ใส่คำสำคัญ หรือคำต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บเรา ซึ่งเป็นแท็กหนึ่งที่ Search Engine ใช้ในการค้นหาเว็บเรา เช่น

<META NAME= “KEYWORDS” CONTENT= “ใส่คำสำคัญ”>



<!- ->

สำหรับแท็กนี้เรียกว่าแท็ก Comment (หมายเหตุ) ใช้ในการทำหมายเหตุในเอกสาร HTML ซึ่งผู้ที่เปิดดูจาก Browser จะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่จะสามารถอ่านได้จาก Taxt Edittor เท่านั้น รูปแบบการใช้ คือ <!- ข้อความ ->



<FONT>

สำหรับแท็กนี้ ก็จะเกี่ยวกับการแสดงผลของตัวอักษร เช่น ขนาด, สี, Font ของตัวอักษร เป็นต้น

1. SIZE ใช้กำหนดขนาดของ Font ให้มีขนาดต่างๆกัน โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 1-7 ซึ่งขนาด

ที่ 1 จะมีขนาดเล็กที่สุดหรือเท่ากับ 8 pt และ ขนาด 7 จะมีขนาดใหญ่ที่สุดหรือเท่ากับ 36 pt

2. COLOR ใช้กำหนดสีของ Font ให้มีสีสันต่างๆ กัน โดยที่คุณสามารถใส่เป็นรหัสสีหรือชื่อก็ได้ เช่น <FONT COLOR= “#000000” > หรือ <FONT COLOR= “Black” > เป็นต้น

3. FACE ใช้กำหนด Font ที่จะให้ Browser แสดงผลด้วย Font ที่กำหนด เช่น <FONT FACE= “Angsana UPC” > เป็นต้น



<B>

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดการแสดงผลของตัวอักษรแบบตัวหนา รูปแบบการใช้งานคือ <B> ข้อความ </B>

< I >

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดการแสดงผลของตัวอักษรแบบตัวเอียง รูปแบบการใช้งานคือ < I > ข้อความ </I>

< U >

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดการแสดงผลของตัวอักษรแบบตัวขีดเส้นใต้ รูปแบบการใช้งานคือ < U > ข้อความ </U>



< BR >

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับการขึ้นบรรทัดใหม่ มีรูปแบบการใช้งาน คือ <BR>



<CENTER>

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดให้ข้อความภายในแท็กนี้ มีการจัดรูปแบบ แบบกึ่งกลาง มีรูปแบบการใช้งาน คือ <CENTER> ข้อความ </CENTER>



< HR>

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับการขีดเส้น ___________ โดยมีรูปแบบการใช้งานคือ <HR>



< P >

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับการขึ้นย่อหน้าใหม่ มีรูปแบบการใช้ คือ <P> ข้อความ </P>

1. ALIGN ใช้กำหนดลักษณะการจัดย่อหน้า บนหน้าจอ โดยจะมีค่าที่ใช้ คือ LEFT (วางแบบชิดซ้าย), RIGHT (วางแบบชิดขวา), CENTER (วางแบบกึ่งกลาง) ใช้งานคือ

<P ALIGN= “LEFT”> ข้อความ </P>

<P ALIGN= “RIGHT”> ข้อความ </P>

<P ALIGN= “CENTER”> ข้อความ </P>



<MARQUEE>

สำหรับแท็กนี้เป็นแท็กที่ใช้สำหรับ กำหนดการแสดงผลของตัวอักษรวิ่ง โดยมีรูปแบบการใช้งานคือ <MARQUEE> ข้อความ </MARQUEE> มีคำสั่งย่อย ดังนี้

1. WIDTH แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดความกว้างของพื้นที่ตัวอักษรวิ่ง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ

< MARQUEE WIDTH= “200” > หรือ < MARQUEE WIDTH= “20%” > เป็นต้น

2. HEIGHT แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดความสูงพื้นที่ตัวอักษรวิ่ง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ

< MARQUEE HEIGHT = “200” > หรือ < MARQUEE HEIGHT = “20%” > เป็นต้น

3. BGCOLOR แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดสีพื้นหลังที่เป็นสีที่กำหนด เช่น

< MARQUEE BGCOLOR = “green”> เป็นต้น

4. HSPACE สำหรับแท็กนี้ ใช้สำหรับกำหนดระยะห่างทางด้านซ้ายและขวาของตัวอักษรวิ่ง มีรูปแบบการใช้งาน คือ < MARQUEE HSPACE= “10”>ข้อความ </MARQUEE>

5. VSPACE สำหรับแท็กนี้ ใช้สำหรับกำหนดระยะห่างทางด้านบนและล่างของตัวอักษรวิ่ง มีรูปแบบการใช้งาน คือ < MARQUEE VSPACE= “10”>ข้อความ </MARQUEE>

6. LOOP ใช้กำหนดจำนวนรอบของตัวอักษรวิ่ง โดยจะมีค่าเป็นเลข ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง Infinite หรือว่า Loop แบบไม่รู้จบ

7.BEHAVIOR ใช้กำหนดลักษณะการวิ่งของตัวอักษร โดยสามารถกำหนดได้ 3 แบบ คือ

ALTERNATIVE ตัวอักษรวิ่งจากขวามาซ้ายและซ้ายไปขวา กลับไปกลับมา

SCROLL ตัวอักษรวิ่งจากขวามาซ้าย

SLIDE ตัวอักษรวิ่งจากขวามาซ้ายแล้วหยุดนิ่ง

ตัวอย่าง < MARQUEE BEHAVIOR= “ALTERNATIVE” > ข้อความ </MARQUEE>

< MARQUEE BEHAVIOR= “SCROLL” > ข้อความ </MARQUEE>

< MARQUEE BEHAVIOR= “SLIDE” > ข้อความ </MARQUEE>



<TABLE>
สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้มากที่สุด และสำคัญที่สุดในการสร้างโฮมเพจของเรา สำหรับการสร้างตาราง โดยจะต้องใช้ควบคู่กับแท็ก <TR> และ <TD> เสมอในการสร้างตาราง โดยมีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้

<TABLE> ------------------------------------------------------------> คำสั่งเปิดตาราง

<TR> ------------------------------------------------------------> หมายถึง แถว

<TD> ข้อความ </TD> <TD> ข้อความ </TD> -----------------------> หมายถึง คอลัมภ์

</TR> ------------------------------------------------------------> จบแถว

</TABLE> ------------------------------------------------------------> คำสั่งจบตาราง



จะเห็นว่าคำสั่ง <TR> นั้นคือ คำสั่งแถว และ คำสั่ง <TD> คือคำสั่ง คอลัมภ์ และคำสั่งคอลัมภ์นั้นจะเห็นว่าอยู่ภายใต้คำสั่ง <TR> ซึ่งก็คือ เมื่อใดที่ตารางมีแถว ก็ต้องมีคอลัมภ์อยู่ในแถว และในคอลัมภ์นั่นเองที่เป็นที่ใส่ข้อมูลต่างๆ จากด้านบนจะเห็นว่า คำสั่งนี้จะมี 1 ตาราง 1 แถว 2 คอลัมภ์ ส่วนการกำหนดรายละเอียดนั้น มีดังต่อไปนี้

1. WIDTH แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดความกว้างของตาราง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ <TABLE WIDTH= “200” > หรือ<TABLE WIDTH= “20%” > เป็นต้น

2. HEIGHT แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดความสูงของตาราง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ <TABLE HEIGHT = “200” > หรือ<TABLE HEIGHT = “20%” > เป็นต้น

3. ALIGN แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดลักษณะการวางตารางบนหน้าจอ โดยจะมีค่าที่ใช้คือ LEFT, RIGHT, CENTER เช่น <TABLE ALIGN = “CENTER” > เป็นต้น

4. BORDER แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดขนาดความหนาของกรอบตาราง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ <TABLE BORDER = “0” >(เมื่อไม่ต้องการมีกรอบ), หรือ <TABLE BORDER = “2” > เป็นต้น

5. CELLSPACING แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดระยะห่างระหว่างคอลัมภ์ของตาราง ด้านซ้าย-ขวา โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ<TABLE CELLSPACING = “0” > (เมื่อไม่ต้องการมีระยะห่าง), หรือ <TABLE CELLSPACING = “2” > เป็นต้น

6. CELLPADDING แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดระยะห่างระหว่างคอลัมภ์ของตาราง ด้านบน-ล่าง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ<TABLE CELLPADDING = “0” > (เมื่อไม่ต้องการมีระยะห่าง), หรือ <TABLE CELLPADDING = “2” > เป็นต้น

7. BACKGROUND แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดสีพื้นหลังที่เป็นรูปภาพกับตาราง เช่น < TABLE BACKGROUND= “bg.gif”> เป็นต้น

8. BGCOLOR แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดสีพื้นหลังที่เป็นสีที่กำหนด เช่น < TABLE BGCOLOR = “green”> เป็นต้น

9. BORDERCOLOR แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดสีของกรอบตารางให้เป็นสีที่กำหนด เช่น < TABLE BORDERCOLOR = “green”> เป็นต้น


ตัวอย่างคำสั่ง

คำสั่ง <br> ใช้สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่คำสั่ง <b>ข้อความ</b> : กำหนดให้ข้อความเป็นตัวหนา
คำสั่ง <center>ข้อความ</center> : กำหนดให้ข้อความอยู่กลาง
คำสั่ง <img src="url"> : ใส่รูป
คำสั่ง <font color="#000000" size="10">ข้อความ</font> : กำหนดทั้งขนาดและสีข้อความ
คำสั่ง <img src="url" width="100px" height="100px"> : ใส่รูป แบบ กำหนดขนาด

แหล่งที่มา :https://sites.google.com/site/swaskrmaenkrathok/1-3-kha-sang-phasa-html
                    http://blog9amity.blogspot.com/2013/01/html.html

ใบงานที่ 9 ความหมายของ HTML



HTML ย่อมาจาก HyperTextMarkupLanguage ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ยากอย่างที่เราเข้าใจกันเพียงแต่มีรูปแบบและกฎเกณฑ์บางอย่าง ที่เราต้องปฏิบัติตามเท่านั้น และเครื่องมือหรือโปรแกรมที่จะใช้เขียนภาษา HTML เรียกว่า "HTML Editor" ซึ่งปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อหรืออาจใช้โปรแกรม Text Editor ทั่ว ๆ ไปก็ได้แต่ต้อง Save ให้อยู่ในรูปของ ASCII หรือText เท่านั้นเมื่อเขียนเสร็จแล้วก็นำข้อมูลนั้นไปใส่ในส่วนกลางซึ่งก็คือใส่ไว้ใน Server ของ ISP ที่เราเป็นสมาชิกอยู่นั่นเองข้อมูลที่เรานำไปใส่นี้เรียกว่า Web Page บางครั้งเรียกว่า Home Page


ใบงานที่ 8 เรื่องผังงาน


ใบงานที่ 7 การเขียนผังงาน (Flowchart)

คือ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำอธิบาย ข้อความหรือคำพูดที่ใช้ในอัลกอริทึม เพราะการที่จะเข้าใจขั้นตอนได้ง่ายและตรงกันนั้น การใช้คำพูดหรือข้อความอาจทำได้ยากกว่าการใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ Flowchart คือ รูปภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน (Flowchart) ประกอบไปด้วย การเริ่มต้น (Start), การจบ (End), การกระทำ (Process), การนำเข้าข้อมูล (Input), การแสดงผลข้อมูล (Output), การตัดสินใจ (Decision), คำอธิบาย (Annotation), จุดเชื่อมต่อ (Connector), ทิศทางการทำงาน (Direction Flow) 



ใบงานที่ 6 การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)

  การเขียนรหัสจำลอง  (Pseudo  Code)  คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่าย ๆ  สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษา อังกฤษก็ได้ โครงสร้างของรหัสจำลองเริ่มต้นด้วยข้อความ Begin   แล้วอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรม เช่น
คำสั่ง  read    หมายถึง  การอ่านค่าหรือรับค่าข้อมูลตัวแปรตามที่กำหนดไว้
คำสั่ง  print    หมายถึง  การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
และพิมพ์ข้อความ End  เมื่อจบการทำงาน 
           การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิง
ถึงข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ภายในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร   โดย

ใช้เครื่องหมายเท่ากับ  (= )  แทนการกำหนดค่าตัวแปร 

ใบงานที่ 5 อัลกอริทึม

1.อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร  กระบวนการนี้ประกอบด้วยจะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซำอีก จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน

2.ลักษณะของอัลกอริทึม แนวทางการเขียนอลักอริทึมเป็นลักษณะการทำงานขั้นพื้นฐาน มักปรากฏในระบบงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป มีแนวทางที่ใช้บ่อย ๆ ดังนี้ 
-การทำงานลักษณะการนับค่าสะสมในหน่วยความจา 
-การทำงานลักษณะวนรอบการทำงาน 
-การทำงานลกัษณะหาค่ามากที่สุดและค่าน้อยที่สุด



ใบงานที่ 4 เรื่อง การดำเนินการแก้ไขปัญหา การตรวจสอบและปรับปุรง



1. การตรวจสอบและปรับปรุงโดยผู้ออกแบบ
2. การตรวจสอบโดยผู้ใช้งานจริง


ใบงานที่ 3 การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน

1. การเลือกที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา : การกำหนดทรัพยากรที่ต้องการใช้ในการแก้ไขปัญหา
2. การออกแบบขั้นตอนในการปฎิบัติงาน : เป็นการกำหนดแนวทางแก้ปัญหาก่อนปฎิบัติจริง โดยจะต้องกำหนดขั้นตอนการปฎิบัติงานเป็นลำดับขั้น แล้วจึงนำมาระบุผู้รับผิดชอบและระยะเวลาการปฎิบัติงานในตารางปฎิบัติงาน

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา

มีวิธีการดังนี้
1.วิเคราะห์สิ่งที่ต้องการ โดยวิเคราะห์ว่าต้องการแก้ปัญหาอะไร ผลผลิตอะไร หรืองานอะไรแล้วกำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ต้องการนั้น ยกตัวอย่าง ต้องการแก้ปัญหาการขาดทุนของร้านเช่าหนังสือ



2.วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยวิเคราะห์สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการแก้ปัญหาที่ต้องการมากกว่า 1 ข้อ เช่น มีความสะดวกรวดเร็วในการเช่าหนังสือ ป้องกันไม่ให้หนังสือหาย มีกำไรมากยิ่งขึ้น
3.วิเคราะห์ทรัพยากร โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งควรเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เช่น วัสดุ อุปกรณ์ ความรู้ของบุคลากร แรงงาน และงบประมาณ
4.วิเคราะห์ตัวแปรหรือผลประทบในด้านต่างๆ
5.วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหา



ใบงานที่ 1
เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมายของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ 
ตอบ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  



2.ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 
1. การรวบรวมข้อมูล วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม เอกสาร บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด เป็นต้น
2. การตรวจสอบข้อมูลขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การตรวจสอบ เพื่อหาข้อผิดพลาด ความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง
3. การประมวลผลข้อมูล หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ข้อมูล การประมวลผลสารสนเทศข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง ที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นความจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน
4. การจัดเก็บข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ
5. การวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อสรุปความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศให้ตรงสภาพที่เป็นจริงตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้
6. การนำข้อมูลไปใช้ การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ






3.การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 
1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State The Problem)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา
แต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไปจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผลกล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้  -การระบุข้อมูลเข้าได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา -การระบุข้อมูลออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ -การกำหนดวิธีประมวลผลได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก
2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วนหลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1แล้วเราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลักหากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมาขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้นๆ ของผู้แก้ปัญหาอีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญในการแก้ปัญหา คือยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือที่เราเรียกว่า “ขั้นตอนวิธี” (Algorithm) ในการแก้ปัญหาหลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้วผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด การออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังงาน (Flowchart) ที่จำลองวิธีขั้นตอนการแก้ปัญหาในรูปแบบสัญลักษณ์ รหัสจำลอง (Pseudo Code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการปัญหาในรูปแบบคำบรรยายการใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้วยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็วเช่น begin...end if...else
3. การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้
การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหาขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้
4. การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement)
หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า
วิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องโดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออกเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได (Stair) ที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาต่างๆได้ รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา ก็ต้องใช้กระบวนการตามขั้นตอนทั้ง4 นี้เช่นกัน

My profile



ชื่อ นายชนาธิป หล่อวณิชย์ ม.5/5 เลขที่ 3
ชื่อเล่น พีช
อายุ17 ปี
ที่อยู่ 396 ถนนสุขุมวิท ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง
อาชีพในฝัน นักการทูต
ศาสนา พุทธ
กรุ๊ปเลือด O
งานอดิเรก วาดรูป
ศึกษาที่ โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
เคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลา 10 เดือน
อุปนิสัย ไม่ค่อยสนใจผู้อื่นในบางครั้ง เนื่องจากเขาไม่ใช่เรา และต้องการให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จด้วยตนเอง ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด
เวลาว่าง มักทำการบ้าน ฟังเพลง วาดรูป หรือออกไปเที่ยวนอกบ้าน